วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิธีการทำขนมเค้ก

วิธีทำ
1. ผสมของแห้งทุกอย่างรวมกัน ละลายเนยให้เหลว แล้วเทลงในอ่างแกรมแคร้กเกอร์
ใช้ไม้พายคนส่วนผสมเข้าด้วยกัน คนไปเรื่อยๆจนกระทั่งส่วนผสมร่วนเป็นทรายไม่เกาะกันเป็นก้อนค่ะ
2.เอาเนยทาที่ก้นพิมพ์ไว้ก่อนนะคะ พอส่วนผสมเรียบร้อยก็เอามากรุก้นพิมพ์ใช้มือกดๆให้เรียบแน่นหน่อยนะคะ จากนั้นก็เอาพิมพ์นี้ไปใส่ตู้เย็นให้ส่วนผสมแข็งจับตัว กันค่ะ ซัก 10-12 นาที แล้วก็เอาไปอบใช้ไฟ 350 องศาฟาเรนไฮต์ อบเสร็จแล้วก็พักไว้ก่อนค่ะ แล้วเราก็ไปทำตัวชีสเค้กกันก่อนนะคะ

ส่วนผสมตัวชีสเค้ก
1.ครีมชีสขนาด 8 ออนซ์ 3ก้อน
2.น้ำตาล 1 1/4ถ้วย
3.วานิลา extract 1/4 ชช
4.ไข่ ทั้งฟอง 3 ฟอง
5.ไข่แดง 1 ฟอง
6.เฮฟวี่ครีม 1/3 ถ.
7.sour cream 1/3 ถ.
8.ผิวเลมอน หรือใช้แต่ เลมอนแอ๊คแทรคก็ได้ค่ะ 1/4 ชช
มาเริ่มทำตัวเค้กกันต่อค่ะ..
1.เอาครีมชีส ต้องวางไว้ให้หายเย็นก่อนนะคะ อุณภูมิห้องตามตำรา ใส่ชามอ่างแล้วตีให้เนียนอย่าตีนานมากเกินไป พอตีเนียนดีแล้ว เอาน้ำตาลใส่ลงไปตีใส่น้ำตาลทีละ 1/3ถ้วยนะคะ ตีไปจนน้ำตาลหมด ใช้พายยางปาดๆขอบอ่างด้วย
2.ต่อไปใส่ไข่ ใ่ส่ทีละฟองนะคะ ความเร็วของเครื่องที่ใช้ตีนี้ปานกลางค่อนข้างต่ำค่ะ
3.จากนั้นก็ใส่เฮฟวี่ครีม sour cream วานิลา เลมอนแอ๊คแทรค ตีให้เข้ากันค่ะ ตอนที่ตักส่วนผสมให้เข้ากันนี้ ทำๆหยุดๆด้วยนะคะ ใช้พายยางปาดตรงก้นขึ้นมาด้วย เผื่อมีครีมติดอยู่ก้นโถนะคะ ลืมบอกไปค่ะว่าถ้าหาsour cream ไม่ได้ให้ใช้โยเกิร์ตรสธรรมชาติแทนได้ค่ะ
4.เมื่อส่วนผสมเข้ากันดีแล้วก็เทใส่พิมพ์ขนาด 9 นิ้ว อย่าลืมทาขอบๆพิมพ์ด้วยเนยนะคะ เอาใส่เตาอบชั้้นกลางของเตาอบ อบนาน 55 นาทีถึง 1 ชม.พออบเสร็จอย่าเพิ่งด่วนเอาชีสเค้กออกจากเตาอบ แค่ปิดเตาอบ แล้วแง้มๆเตาอบเปิดไว้นานประมาณ 1 ชม.ก่อนที่จะเอาเค้กออกมาตั้งข้างนอกให้อยู่ในอุณหภูมิห้องอีกทีนะคะ หน้าเค้กจะได้ไม่แตกค่ะ พอพักไว้เย็นอุณหภูมิห้องแล้วก็เอาใส่ตู้เย็นไว้ ให้เค้กอยู่ตัวอีก อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนจะตัดเค้กมาทานค่ะ


วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อยากบอกแม่ว่า...

อยากบอกแม่ว่า...
หนูรักแม่มากค่ะ  ถึงมันจะเป็นคำสั้นๆ
แต่ความมันก็ลึกซึ้งมากแค่ไหน
อยากให้รู้ไว้ว่าตลอดเวลา
ที่หนูอยู่กับแม่หนูมีความสุขมากเลยค่ะ

แด่แม่ที่รัก

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การแกะสลัก
ดูภาพขนาดใหญ่การแกะสลัก  หมายถึง วิธีการเอาส่วนย่อยออกจากส่วนรวม ซึ่งเป็นกระบวนการในทางลบที่ปรากฏหรือเหลือไว้เฉพาะส่วนที่ต้องการ  ผลงานที่ได้เรียกว่า “รูปสลัก” การแกะสลักส่วนใหญ่จะใช้วัสดุที่มีเนื้อไม่แข็งมากนัก  เช่น ปูนปลาสเตอร์ ปูนผสมทราย ไม้เนื้ออ่อน สบู่ ผักผลไม้ชนิดต่างๆ ที่สามารถนำมาแกะสลักได้  เป็นต้น

ประเภทของการแกะสลัก
        ประเภทของงานแกะสลักแบ่งออกได้เป็น  3 ลักษณะ ดังนี้ แบบลอยตัว สามารถมองเห็นได้ทุกด้าน  เช่น ภาพพระพุทธรูปทั้งองค์ แบบนูนสูง เป็นภาพที่มองเห็นเพียงครึ่งเดียวจากภาพเต็มตัว  เช่น การแกะสลักลงบนแผ่นไม้ แบบนูนต่ำ เป็นภาพที่มองเห็นเฉพาะหน้าตรงเท่านั้น  เช่น ภาพบนเหรียญ         นอกจากการแกะสลักมีลักษณะเช่นเดียวกับประเภทของการปั้นแล้ว  การแกะสลักกับการปั้นยังมีข้อแตกต่างกันตรงที่การแกะสลักจะมีแบบต่างๆ มากขึ้น  เช่น แบบแกะสลักลายเส้น แบบร่องลึก และแบบร่องตื้น เป็นต้น ซึ่งวิธีการแกะสลักก็จะทำให้ลักษณะเซาะร่องเป็นลายเส้นลงไปในเนื้อวัสดุ  มีทั้งเซาะร่องเป็นแบบตื้นและลึก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทและชนิดของการแกะสลักที่จะนำไปใช้
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการแกะสลักและวิธีการเก็บรักษาเครื่องมือ
        วัสดุที่ใช้ในการแกะสลัก
        วัสดุที่ใช้สำหรับแกะสลักมีมากมายหลายชนิด  ขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน เริ่มตั้งแต่วัสดุสำหรับการแกะสลักแบบง่ายๆ  เนื้อวัสดุไม่แข็งมากนัก ไปจนถึงวัสดุที่มีความสลับซับซ้อนต้องใช้เครื่องมือไฟฟ้าเข้าช่วยในการปฏิบัติงานเพราะฉะนั้นในการเลือกใช้วัสดุจึงต้องคัดเลือกให้เหมาะสมกับงานแต่ละชนิด ดังนี้
        1. ปูนปลาสเตอร์ หาได้ตามร้านเครื่องเขียนหรือร้านขายอุปกรณ์ทางศิลปะทั่วไป  ธรรมชาติของปูนปลาสเตอร์จะมีเนื้อเป็นผงสีขาว ใช้ผสมกับน้ำอัตราส่วนน้ำ  1 ส่วน ปูนปลาสเตอร์ 2 ส่วน แต่ถ้าต้องการให้เนื้อปูนมีความหนาแน่นมากๆ  อัตราส่วนของปูนปลาสเตอร์อาจจะผสมลงไปมากกว่านี้ก็ได้ ปูนปลาสเตอร์ที่มีคุณภาพดีเนื้อปูนจะแข็งตัวเร็ว  เมื่อจับผิวกายภายนอกจะรู้สึกร้อน การเลือกปูนปลาสเตอร์จึงควรเลือกปูนที่ใหม่และมีคุณภาพดี

        2. ปูนผสมทราย เป็นวัสดุสำหรับการแกะสลักที่เกิดจากการใช้วัสดุผสมกัน  2 ชนิด คือ ปูนปลาสเตอร์ และทรายในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 ถ้ามีส่วนผสมของทรายมากเกินไปเนื้อปูนจะร่วนไม่เกาะติดกัน  การใช้วัสดุปูนผสมทรายนั้นจะต้องมีความพิถีพิถันมาก เช่น ทรายที่จะนำมาใช้ผสมกับปูนปลาสเตอร์จะต้องได้รับการคัดแยกเศษวัสดุที่ปะปนมากับทรายออกให้หมดก่อน  เพราะหากยังมีเศษวัสดุอยู่จะทำให้ผิวพื้นวัสดุไม่สวยงามหรืออาจมีปัญหาในขั้นตอนการแกะสลักได้

        3. ไม้เนื้ออ่อน เป็นวัสดุที่หาได้ทั่วๆ  ไปจากธรรมชาติ ไม้เนื้ออ่อนที่เหมาะสำหรับแกะสลัก เช่น ไม้โมก ไม้สัก  เป็นต้น ไม้แต่ละชนิดจะมีลายที่งดงามแตกต่างกัน ซึ่งลักษณะของเนื้อไม้นี้เองสามารถสร้างความน่าสนใจให้กับผลงานแกะสลักได้  ดังนั้น ในการเลือกนำไม้มาแกะสลัก ผู้เรียนควรจะเลือกชนิดและขนาดให้พอเหมาะกับลักษณะของงานแต่ละชิ้น  เพื่อไม่ให้วัสดุสิ้นเปลืองจนเกินไป อีกทั้งยังเป็นการช่วยประหยัดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอีกด้วย
                                        4. เทียนไข เป็นวัสดุสำหรับการแกะสลักที่สามารถหาได้ตามร้านค้าทั่วๆ  ไป แต่เทียนไขที่มีจำหน่ายจะเป็นเทียนไขสำเร็จรูปที่ใช้สำหรับบูชาพระ ไม่สามารถนำมาใช้แกะสลักได้  ถ้าจะใช้ต้องนำมาหล่อใหม่ตามรูปทรงที่ต้องการก่อน โดยใช้การละลายกับความร้อนในภาชนะรองรับ  และก่อนการละลายเทียนไข ควรนำไส้ในของเทียนออก ทั้งนั้นเพื่อไม่ให้ไส้เทียนปะปนกับเนื้อเทียนไขที่จะใช้ในการแกะสลัก
        อุปกรณ์ที่ใช้ในการแกะสลัก
        อุปกรณ์ที่ใช้ในการแกะสลักแบ่งตามลักษณะของวัสดุที่จะนำมาแกะสลักได้ดังนี้
        1. ชุดเครื่องมือแกะสลักวัสดุอ่อน  เป็นชุดเครื่องมือสำหรับใช้ในการแกะสลักวัสดุประเภท เทียนไข ปูนปลาสเตอร์  ผัก ผลไม้ เป็นหลัก มีหลายขนาดหลายแบบ จัดใส่กล่องไว้เป็นชุดๆ ตัวด้ามทำด้วยไม้หรือพลาสติก  ส่วนหัวทำด้วยโลหะ มีลักษณะหน้าเรียบ ตรง เฉียง และโค้ง ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการเลือกใช้แกะสลักได้ตามต้องการ
        2. ชุดเครื่องมือแกะสลักวัสดุเนื้อแข็ง  เป็นชุดเครื่องมือสำหรับใช้ในการแกะสลักวัสดุประเภทไม้และปูนผสมทรายเป็นหลัก  ตัวด้ามจะทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ส่วนหัวทำด้วยโลหะเนื้อแข็ง มีหลายแบบ เช่น  แบบหน้าเอียง ร่องตื้น ร่องลึก ปลายตัด เป็นต้น บางครั้งเรียกเครื่องมือแกะสลักชนิดนี้ว่า  “สิ่ว”
        3. ตะลุมพุกและค้อน  เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตอกหรือตีลงไปบนเครื่องมือแกะสลัก ส่วนมากจะใช้คู่กับสิ่ว  ใช้กับการแกะสลักวัสดุที่มีเนื้อค่อนข้างแข็ง เป็นผลงานที่มีขนาดใหญ่  เวลาแกะสลักจะใช้เนื้อที่กว้างในการทำงาน
        การเก็บรักษาเครื่องมือแกะสลัก
        เครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลักจะมีรูปร่างและขนาดแตกต่างกัน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะและประเภทของงานนั้นๆ เครื่องมือแกะสลักจะมีความแข็งแรงทนทานมากกว่าเครื่องมือปั้น  แต่การเก็บรักษาจะคล้ายคลึงกัน จะต่างกันตรงที่เครื่องมือแกะสลักควรจะแยกประเภทของลักษณะงาน  เช่น ชุดของเครื่องมือสำหรับแกะสลักวัสดุเนื้ออ่อน ชุดเครื่องมือสำหรับแกะสลักวัสดุเนื้อแข็ง  เป็นต้น ก่อนเก็บเข้าชุดหลังจากใช้งานเสร็จแล้วควรล้างทำความสะอาดด้วยน้ำแล้วเช็ดให้แห้ง  ทาน้ำยากันสนิม แล้วนำมาเก็บใส่กล่องให้เป็นระเบียบเพื่อสะดวกในการนำไปใช้งานในครั้งต่อไป
หลักและวิธีการแกะสลัก
        การแกะสลักมีหลักและวิธีการสำคัญ  ดังนี้
        1.  การเลือกวัสดุ  จะต้องพิจารณาคัดสรรให้สอดคล้องกับงานที่ทำ  เพราะวัสดุแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัวแตกต่างกัน  เช่น  บางชนิดมีเนื้ออ่อน  บางชนิดมีเนื้อแข็ง  เป็นต้น

        2.  การเลือกเครื่องมือ  จะต้องเลือกให้เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะของงาน  ไม่ควรเลือกใช้กับงานที่ผิดประเภท  เพราะจะทำให้เครื่องมือเสียหายได้

        3. การร่างรูปและการขึ้นรูป  เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการแกะสลัก เป็นกระบวนการทางลบที่นำส่วนย่อยออกจากส่วนรวม  จึงต้องใช้ความระมัดระวังในการแกะสลักมากกว่าการปั้นที่ค่อยๆ พอกเพิ่ม  และประการสำคัญส่วนไหนพอกเกินก็สามารถนำออกได้ ดังนั้นการแกะสลักจึงต้องมีการวางแผนและเตรียมการให้ชัดเจนตั้งแต่การร่างรูป  กำหนดเส้น โครงสร้าง สัดส่วนของแบบที่จะแกะสลักให้แน่นอน เมื่อได้แล้วจึงค่อยๆ  แกะสลักขึ้นรูปโครงสร้างแบบคร่าวๆ ในขั้นตอนนี้จะเป็นการฝึกการสังเกตหรือศึกษาภาพแกะสลักเป็นภาพรวมอย่างหยาบไปก่อน
        4. การให้รายละเอียด  เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการแกะสลัก ผู้เรียนจะต้องค่อยๆ เพิ่มความชัดเจนของวัสดุที่กำลังแกะสลักอยู่  ด้วยการใช้เครื่องมือขนาดเล็กในการตกแต่งรายละเอียดให้ปรากฏขึ้นมา